กันเกรา

ชื่อสมุนไพร

กันเกรา

ชื่ออื่นๆ

มันปลา (ตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ); ตราเตรา (เขมร); ปันปลา (กบินทร์); ตำเสา ทำเสา (ใต้)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Fagraea fragrans Roxb.

ชื่อพ้อง

Cyrtophyllum fragrans (Roxb.) DC., Cyrtophyllum giganteum Ridl., Cyrtophyllum lanceolatum DC., Cyrtophyllum peregrinum Reinw., Fagraea peregrina (Reinw.) Blume, Willughbeia fragrans

ชื่อวงศ์

Gentianaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ต้นสูงประมาณ 15-20 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล ผิวเรียบ เมื่อลำต้นแก่จะแตกเป็นร่องลึกตามยาว แก่นมีความแข็งแรง คงทน แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ออกหนาแน่นที่ปลายยอด ใบรูปวงรี ปลายใบแหลม กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 8-12 เซนติเมตร ขอบใบขนาน แผ่นใบเป็นคลื่นเล็กน้อย เรียบเป็นมัน สีเขียวเข้ม ฐานใบมน ปลายใบแหลม ท้องใบและขอบใบเรียบ เส้นกลางใบสีเขียวอ่อน นูนเล็กน้อย ผิวใบด้านบนลื่น เป็นมันสีเขียวเข้ม เนื้อใบค่อนข้างเหนียว หูใบยาว 0.1-0.2 ซม. เส้นแขนงใบ 5-9 คู่ เห็นไม่ชัดเจน ด้านบน เส้นกลางใบด้านบนนูนเล็กน้อย ด้านล่างเป็นสันนูนชัดเจน ดอกออกเป็นช่อ แบบช่อกระจุก ออกตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ยาว 4-12 ซม. ก้านช่อยาว 2-6.5 ซม. ก้านดอกย่อยยาว 0.3-0.6 ซม. มีกลิ่นหอม กลีบดอกสีขาวและเหลืองอ่อนจำนวน 5 กลีบ ม้วนงอเข้าหาก้านดอก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายกลีบดอกแหลม กลีบดอกรูปปากแตรแคบๆ ยาวได้ประมาณ 2 ซม. หลอดกลีบดอกยาว 0.7-1.2 ซม. กลีบรูปขอบขนาน ยาว 0.5-0.8 ซม. พับงอกลับ ดอกเริ่มบานมีสีขาวเมื่อบานเต็มที่มีสีเหลืองอมส้ม มีก้านเกสรยาวออกมา เกสรตัวผู้ยาวและติดกับกลีบดอกมี 5 อัน ยื่นพ้นเลยปากหลอดกลีบดอก ก้านเกสรเพศผู้แผ่กว้าง ยาว 1.5-2 ซม. อับเรณูรูปรีหรือขอบขนาน ยาวได้ประมาณ 0.2 ซม เกสรตัวเมียยาวมี 1 อัน รังไข่ยาว 1.7-2.4 ซม. รวมก้านเกสรเพศเมีย ยอดเกสรรูปโล่ห์หรือแยกเป็น 2 พู กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบเลี้ยงรูประฆัง ยาว 0.2-0.3 ซม. กลีบยาวได้ประมาณ 0.2 ซม. ปลายกลีบกลม ผลอ่อนทรงกลมสีเขียว สุกสีเหลือง ส้ม หรือแดง เป็นแบบผลสดมีหลายเมล็ด ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-0.8 ซม. เมล็ดมีขนาด 0.1-0.2 ซม.มีเหลี่ยม ผิวเรียบเป็นมัน ฉ่ำน้ำ มีติ่งแหลมสั้นติดอยู่ที่ปลาย เมล็ดมีขนาดเล็กสีน้ำตาลไหม้ มีหลายเมล็ด ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน จัดเป็นพรรณไม้มงคล และเป็นพรรณไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้กินเป็นผักสดได้  

 

ลักษณะวิสัย
 

 

ลักษณะวิสัย (ขณะออกดอก)

 

ลำต้น

 

ใบ

 

ช่อดอก

 

ดอก

 

ผล


สรรพคุณ    
             ตำรายาไทย ใบ แก้ไข้มาลาเรีย แก้หอบหืด บำรุงธาตุ และรักษาโรคผิวหนังพุพอง แก่น รสมันฝาดขม บำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ บำรุงไขมัน เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ไข้จับสั่น หืด ไอ แก้ริดสีดวง แก้ท้องมาน แก้ท้องเดิน มูกเลือด แก้พิษฝีกาฬ แก้แน่นหน้าอก บำรุงม้าม บำรุงโลหิต ขับลม แก้โลหิตพิการ แก้ปวดแสบปวดร้อน ตามผิวหนังและร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ

 

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : www.thaiherbarium.com


Copyright © 2010 phargarden.com All rights reserved.

Appsthailand Hosting