หยาดน้ำค้าง

ชื่อสมุนไพร

หยาดน้ำค้าง

ชื่ออื่นๆ

จอกบ่วาย กระดุมทอง(ตะวันออกเฉียงเหนือ) หมอกบ่วาย(อุบลราชธานี) หยาดน้ำค้าง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Drosera burmannii Vahl.

ชื่อพ้อง

ชื่อวงศ์

Droseraceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้ล้มลุก ลำต้นสั้น อายุปีเดียว สูง 2-3 เซนติเมตร เป็นพืชกินแมลงขนาดเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับและซ้อนกันแน่นเป็นแนวรัศมี เรียงกระจุกใกล้ราก ยาว 6-10 มิลลิเมตร กว้าง 4-6 มิลลิเมตร ทอดราบไปกับพื้นดิน แผ่นใบรูปไข่กลับถึงรูปโล่ ฐานเรียวแหลม ปลายป้านและโค้งงอขึ้นเล็กน้อย แผ่นใบมีขนต่อมสีแดงปกคลุมจำนวนมาก ปลายใบมีน้ำเมือกเหนียว ก้านใบสั้น หูใบรูปแถบ แยกเป็น 3 แฉก ผิวใบมีขนปลายเป็นตุ่ม มีน้ำเมือกใส เมื่อมีแมลงมาติด จะมีสารพวกน้ำย่อยมาย่อยแมลงนำไปเลี้ยงลำต้นได้ ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ออกที่ปลายยอดหรือกึ่งกลางลำต้น กลีบดอก มี 5 กลีบ แยกกัน สีขาวปลายสีแดง เรียงซ้อนเหลื่อมกัน เรียงสลับกับกลีบเลี้ยง รูปหอกกลับ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ดอกเรียงเป็นแนวเดียว 2-25 เกสรเพศผู้มี 5 อัน ติดที่ฐานดอก ก้านชูยาว 2-2.5 มิลลิเมตร เกสรเพศเมีย มีรังไข่เกลี้ยง อยู่เหนือวงกลับ รูปไข่ มี 1 คาร์เพล มีก้านชูเกสร 5 อัน กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ผลแบบแคปซูล แห้งแตก รูปกลม มีขนาดเล็กมาก ยาว 1.5-2 มิลลิเมตร มีเมล็ดจำนวนมาก สีดำ ออกดอกช่วงตุลาคม ถึงธันวาคม พบทั่วไปในที่โล่งบริเวณที่ชุ่มชื้น ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม ถึงธันวาคม

 

ลักษณะวิสัย

 

ลำต้น  และ  ใบ

 

ลำต้นและใบ

 

ช่อดอก

 

ช่อดอกตูม

 

ดอก

 

ดอก

 

 

สรรพคุณ
              ตำรายาพื้นบ้านอีสาน  ใช้ ทั้งต้นแห้ง ดองเหล้าดื่ม แก้ท้องมาน ทั้งต้นสด ขยี้ทาแก้กลากเกลื้อน ไฟลามทุ่ง งูสวัด
              ตำรายาไทย  ใช้  ทั้งต้น ปรุงยาแก้บิด ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ แก้ไข้มาลาเรีย

 

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : www.thaiherbarium.com


Copyright © 2010 phargarden.com All rights reserved.

Appsthailand Hosting